วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

นโยบายต่างประเทศของประเทศอินโดนีเซีย

นโยบายต่างประเทศของประเทศอินโดนีเซีย
1. เร่งส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยส่งเสริมความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีและความใกล้ชิดระหว่างกัน อันจะนำไปสู่การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การขยายการคมนาคมขนส่ง และความร่วมมือด้านอื่นๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคเพื่อส่งเสริมความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อ กัน
2. สร้างความสามัคคีและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนและส่งเสริมความร่วมมือกับ ประเทศอื่นๆ ในเอเซียภายใต้กรอบความร่วมมือด้านต่างๆ และเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความมั่นคง 
3. เสริมสร้างบทบาทที่สร้างสรรค์และส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติในองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเวทีสหประชาชาติและองค์กรระดับภูมิภาคต่างๆ เพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคง ส่งเสริมกระบานการประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนร่วมมือในการแก้ไขประเด็นปัญหาข้ามชาติทุกด้านที่ส่งผลกระทบต่อความ มั่นคงของมนุษย์
4. กระชับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับประเทศ กลุ่มประเทศ และองค์การระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลก เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในประเทศไทย พร้อมกับการสร้างภูมิคุ้มกันและขีดความสามารถในการแข่งขันให้เศรษฐกิจไทย
5. สนับสนุนการเข้าถึงในระดับประชาชนของนานาประเทศพร้อมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีและความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้ประชาชน รัฐบาล และประชาคมระหว่างประเทศ มีทัศนคติในทางบวกต่อประชาชนและประเทศไทย
6. ส่งเสริมการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาเรื่องพรมแดนและการเปลี่ยนแปลงในโลกที่มีผลกระบต่อประเทศไทย เพื่อก่อให้เกิดฉันทามติในการกำหนดนโยบายและดำเนินนโยบายต่างประเทศ
7. สนับสนุนการทูตเพื่อประชาชน คุ้มครองผลประโยชน์ของคนไทย ดูแลคนไทยและแรงงานไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะคนไทยที่ประกอบอาชีพละมีถิ่นฐานในต่างประเทศ ส่งเสริมบทบาทและความแข็งแกร่งของชุมชนชาวไทยในการรักษาเอกลักษณ์และความ เป็นไทย
8. ใช้ประโยชน์จากโครงข่ายคมนาคมขนส่งในภูมิภาคอาเซียนและอนุภูมิภาค ให้เป็นประโยชน์ต่อการขยายฐานเศรษฐกิจทั้งการผลิตและการลงทุน โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่อยู่ตามแนวระเบียง
9. ประสานการดำเนินงานของส่วนราชการในต่างประเทศ ตามแนวทางนโยบายทีมประเทศไทยเพื่อให้การดำเนินงานด้านการต่างประเทศมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณภาพ
10. ส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศมุสลิมและองค์กรอิสลามระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องว่าประเทศไทยกำลังดำเนินการแก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ในฐานะปัญหาภายในประเทศที่มีความสำคัญด้วยหลักการตามแนวพระราชทาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา"

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

นโยบายต่างประเทศประเทศสหรัฐอเมริกา

นโยบายต่างประเทศประเทศสหรัฐอเมริกา
The Washington Post ได้วิเคราะห์คำแถลงนโยบายของบารัค โอบามา ถึงประเด็นนโยบายต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งเรื่องการออกจากอัฟกานิสถาน การถอยหลัง 1 ก้าวให้กับสงครามกลางเมืองในซีเรีย การสานสัมพันธ์ทางการทูตกับอิหร่าน การเสนอจุดยืนว่าด้วยความมั่นคงไซเบอร์ การทำความตกลงทางการค้ากับยุโรป ไปจนถึงเรื่องเครื่องบินสอดแนมแบบไร้คนขับที่ให้คำมั่นว่าจะทำให้เป็นเรื่องโปร่งใส โดยแยกเป็น 11 ประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. จำกัดเป้าหมายในอัฟกานิสถาน 
The Washignton Post ระบุว่า สหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช และในช่วงปีแรกจากการบริหารของประธานาธิบดีบารัค โอบามา อาจกล่าวได้ว่า เป้าหมายหลักในอัฟกานิสถาน ประการแรกคือ ทำให้เกิดความแตกแยก-สยบให้ราบคาบ และทำลาย อัลกออิดะห์ หรือ อัลไคดาห์ ประการที่สองคือ ลดอำนาจของตาลิบันซึ่งเป็นเกราะกำบังสำคัญของอัลกออิดะห์ ประการที่สามคือ จัดตั้งรัฐบาลเพื่อปกครองอัฟกานิสถานและเพิ่มความแข็งแกร่งในด้านความมั่นคง
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เขาได้จำกัดแต่เพียงเป้าหมายเฉพาะด้านซึ่งก็จำเพาะอยู่แค่เพียงประการแรก สหรัฐเพียงแค่ต้องการย้ำเป้าหมายที่มีต่ออัลกออิดะห์และการตัดสินใจของเขาในการละทิ้งจากรัฐบาลอัฟกันและตาลิบันซึ่งเคยเป็นเป้าหมายหลัก
2. ละทิ้งจากอัฟกานิสถาน
บารัค โอบามาระบุว่า อเมริกากำลังปฏิบัติภารกิจในอัฟกานิสถานสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ อัลกออิดะห์กำลังประสบความพ่ายแพ้ อเมริกาจะนำกองกำลังที่สนับสนุนด้านความมั่นคงในอัฟกานิสถานกลับบ้าน 34,000 นายในปีหน้า และจะค่อยๆ ถอนกองกำลังออกมาทั้งหมดจนสามารถยุติสงครามของเรา (สหรัฐอเมริกา) ในอัฟกานิสถานได้ภายในปลายปีหน้า สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นหลังฤดูใบไม้ผลิในปี 2014 ยังคงเป็นที่ถกเถียงภายในทีมบริหารอยู่
3. ปลอดสงครามแต่ปล่อยเครื่องบินสอดแนมแบบไร้คนขับให้ปฏิบัติการมากขึ้น
State of the Union โอบามาระบุว่า สหรัฐอเมริกากำลังเจรจากับรัฐบาลอัฟกันถึงเป้าหมายที่เกี่ยวกับภารกิจสำคัญ 2 ประการคือเรื่องการฝึกซ้อมรบและการจัดการเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ในกองทัพอัฟกัน แม้วินาศกรรม 9/11 ที่เกิดขึ้นจะยังมีเงาขององค์กรที่โจมตีสหรัฐทาบทับอยู่ (เขาเห็นว่า) ภัยคุกคามดังกล่าวมีวิวัฒนาการนโยบายต่างประเทศประเทศสหรัฐอเมริกา
แต่ต่อไป ภัยคุกคามเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องทำให้เราส่งลูกชายและลูกสาวของเรานับหมื่นรายไปยังประเทศอื่นหรือเพื่อไปยึดครองประเทศอื่นแล้ว ต่อจากนี้ เราจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ เช่น เยเมน ลิเบีย และโซมาเลีย เพื่อทำให้เกิดความมั่นคงและช่วยเหลือพันธมิตรของเราในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายอย่างเช่นที่เกิด่ขึ้นในประเทศมาลี และเราจะต้องตอบสนองต่อกลุ่มก่อการร้ายโดยตรงต่อผู้ที่ต้องการคุกคามชาวอเมริกัน
The Washington Post กล่าวคือการบริหารของบารัค โอบามาในสมัยที่ 2 นี้ จะไม่มีการใช้กำลัง ไม่สร้างสงครามใหม่ ไม่มีการแทรกแซงครั้งใหญ่ แต่จะเป็นการทำงานร่วมกับพันธมิตร ซึ่งรวมทั้งรัฐบาลเยเมนด้วย และการตอบสนองโดยปฏิบัติการตรง (direct action) คืออาจจะพิจารณาให้มีการใช้ปฏิบัติการในลักษณะการส่งเครื่องบินไร้คนขับสอดแนมมากขึ้น
 บารัค โอบามา แถลงนโยบาย State of the Union, Official White House Photo by Lawrence Jackson
4. การดำเนินการเพื่อใช้เครื่องบินสอดแนมไร้คนขับอย่างโปร่งใส
State of the Union โอบามาระบุว่า เราต้องร่วมมือกันต่อสู้ตามค่านิยมของเรา และนี่เป็นสาเหตุว่าทำไมทีมบริหารของเขาจึงเร่งออกกฎหมายและกรอบทางนโยบาย อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทั้งนี้ก็เพื่อนำไปสู่การต่อต้านการก่อการร้าย เราจะพยายามทำงานกับสภาคองเกรส แน่นอนว่านี่ไม่ใช่เป้าหมายของเราเท่านั้น การกักกันและดำเนินการตามกฎหมายกับกลุ่มก่อการร้ายนั้น ยังอยู่ภายใต้กฎหมายของเราและมีระบบที่สามารถตรวจสอบและถ่วงดุลในการใช้อำนาจนั้นได้ แต่เราจะพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะทำให้เกิดความโปร่งใสเพื่อชาวอเมริกันและผู้คนทั้งโลกด้วยนโยบายต่างประเทศประเทศสหรัฐอเมริกา
The Washington Post ในประเด็นนี้ถูกตั้งข้อสังเกตว่า บารัค โอบามาให้คำมั่นที่สะท้อนให้เห็นว่าเขาจะทำให้การสังหาร (ใครก็ตามที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย-การก่อการร้าย) เป็นไปอย่างโปร่งใส ซึ่งเคยเป็นเรื่องที่ถูกปิดบังเก็บงำเป็นความลับมาโดยตลอด การทำให้มันโปร่งใสดังกล่าว สร้างข้อขัดแย้งได้ดังนี้ คือ อำนาจทางกฏหมายใดๆ ที่จะสามารถสังหารพลเมืองชาวอเมริกันได้ (เช่นเดียวกับกรณีที่ไตร่ตรองก่อนแล้ว อย่างการต่อต้าน Anwar al-Awlaki ชาวอเมริกันในเยเมน) รวมทั้งการโจมตีอย่างมีนัยสำคัญ ต่อบุคคลหรือกลุ่มใดที่มีลักษณะเป็นไปตามการจัดให้อยู่ในกลุ่มก่อการร้าย โอบามาจะอธิบายการใช้อำนาจดังกล่าวอย่างไร
5. ปิดล้อมเกาหลีเหนือ
State of the Union โอบามากล่าวว่า ความท้าทายของเราไม่ได้สิ้นสุดที่อัล กออิดะห์เท่านั้น แต่อเมริกาจะยังคงมีบทนำต่อไปในการป้องกันการแพร่กระจายอาวุธร้ายแรงในโลก ระบอบในเกาหลีเหนือนั้น จำเป็นต้องสำนึกต่อประชาคมโลกด้วย  การปลุกปั่นอย่างที่เราได้เห็นเมื่อคืนที่ผ่านมา (เกาหลีเหนือทดสอบอาวุธนิวเคลียร์) จะเป็นสิ่งที่ทำให้เขาต้องถูกโดดเดี่ยวในวันข้างหน้า เราจะยืนหยัดเคียงข้างพันธมิตรของเรา เสริมสร้างความแข็งแกร่งขีปนาวุธของพวกเราเอง เพื่อปฏิบัติการต่อภัยคุกคามเหล่านี้ได้
The Washington Post การปิดล้อมเกาหลีเหนือเป็นการคงสถานะของนโยบายสหรัฐอเมริกาต่อเกาหลีเหนือ ที่เน้นย้ำให้เห็นว่า ต้องปิดล้อมประเทศที่เป็นภัยคุกคามด้านนิวเคลียร์ แม้ก่อนหน้านี้ โอบามาจะส่งสัญญาณให้เห็นว่าเขายินดีที่จะเกี่ยวพันทางการทูตกับเกาหลีเหนือ แต่สำหรับครั้งนี้เขาไม่ได้อ้างถึงเลย
6. ดำเนินการทูตกับอิหร่าน
State of the Union โอบามาระบุว่า ผู้นำอิหร่านต้องยอมรับการแก้ไขปัญหาทางการทูต เพราะความร่วมมือเป็นหนทางที่สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้และยังคงย้ำอีกครั้งว่า เรา (สหรัฐ) จำเป็นต้องปกป้องตัวเองจากอาวุธนิวเคลียร์
The Washington Post โอบามาย้ำข้อเสนอทางการทูตแก่อิหร่าน ให้เกิดการเจรจาเพื่อยุติโครงการนิวเคลียร์ ซึ่งการที่เขาย้ำว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องยุติโครงการนิวเคลียร์ทั้งหลายในที่นี้ อาจหมายถึงเขาจะพิจารณาการใช้กำลังทางทหารเพื่อการนี้ก็เป็นได้
7. ลดอาวุธนิวเคลียร์มากขึ้น
State of the Union ขณะเดียวกัน เราก็พยายามจะเข้าหารัสเซีย เพื่อแสวงหาช่องทางเพื่อลดการสั่งสมอาวุธนิวเคลียร์ เพื่อทำให้โลกมั่นคง ปลอดภัยหากอาวุธร้ายดังกล่าวไปตกอยู่ในมือใครที่อาจจะกระทำผิดได้
The Washington Post การบริหารภายใต้การนำของโอบามา ปลอดภัยจากนิวเคลียร์ที่ถือเป็นประเด็นร่วมกับรัสเซียในช่วงวาระแรกที่เขาดำรงตำแหน่ง เพราะได้ทำความตกลงร่วมกันว่าด้วยยุทธศาสตร์ในการลดและจำกัดอาวุธจาก New START agreement
State of the Union บารัค โอบามา, Official White House Photo by Pete Souza
8มุ่งเป้ากับความมั่นคงไซเบอร์
State of the Union ระบุว่า อเมริกาต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากการโจมตีบนโลกไซเบอร์อย่างรวดเร็ว ขณะนี้ เรารู้ว่าแฮกเกอร์ได้ขโมย ID ของประชาชนและแทรกซึมไปทางอีเมล์ส่วนตัวของพวกเขา เรารู้ว่าเป็นฝีมือจากองค์กรลับๆ จากต่างประเทศ และเป็นศัตรูของเราในตอนนี้ที่พยายามจะเป็นทำลายโรงไฟฟ้า สถาบันการเงิน ระบบควบคุมการจราจรทางอากาศของเรา
จนในที่สุด ผมได้เซ็นคำสั่งประธานาธิบดี เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ ความมั่นคงไซเบอร์มากขึ้น เพื่อพัฒนาและปกป้องความมั่นคงของประเทศชาติเรา งานของเรา สภาคองเกรสต้องผ่านกฎหมายเพื่อให้เรามีศักยภาพทางด้านความมั่นคง และปลอดภัยด้วยการป้องปรามจากการโจมตีไซเบอร์
The Washington Post ไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้าแถลงนโยบาย ฝ่ายข่าวกรองเพิ่งจะประเมินและเผยให้เห็นว่าสหรัฐได้กลายเป็นเป้าหมายในการโจมตีทางไซเบอร์ แหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ระบุให้เห็นว่า (น่าจะ) เป็นประเทศจีน การเซ็นคำสั่งประธานาธิบดีของโอบามา ทำให้เห็นว่า เขาให้ความสำคัญกับความมั่นคงไซเบอร์เป็นอันดับต้นๆ และนี่ถือเป็นการตอบโต้การแฮกข้อมูลของจีนที่นับวันจะรุกคืบเข้ามามากขึ้น
9. ทำความตกลงทางการค้ากับยุโรป
State of the Union การที่เราปกป้องประชาชนของเรา เราควรจะระลึกไว้เสมอว่า ปัจจุบันโลกเราไม่เพียงแค่ตกอยู่ในความอันตรายเท่านั้น ไม่ใช่แค่มีภัยคุกคาม แต่ยังมีโอกาสด้วย การส่งเสริมการส่งออกของสหรัฐ เอื้อให้เกิดการจ้างงานในสหรัฐ มีบทบาทมากขึ้นในตลาดของเอเชียที่กำลังเติบโต เรามีความตั้งใจที่จะทำให้การเจรจาในกรอบความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) ประสบความสำเร็จ
The Washington Post ความตกลงทางการค้ากับยุโรปนี้ เป้าหมายของโอบามา คือการค้าเสรีกับยุโรป ที่จะมีการลดภาษี แม้ว่าจะมีระดับภาษีระหว่างกันที่ค่อนข้างต่ำอยู่แล้ว ยังปลอดกำแพงภาษีอื่นๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นอาหาร และผลิตภัณฑ์ต่าง ที่น่าจะทำให้เกิดผลดีทั้งต่อสหรัฐเองและสหภาพยุโรปด้วย แต่ก็อาจจะประสบความยุ่งยากมากกว่าที่คิดได้
10. ยุคสมัยของการปลอดจากโรคเอดส์
State of the Union ทุกวันนี้ ในหลายๆ แห่งครองชีพด้วยเงินน้อยกว่า 1 เหรียญดอลลร์ต่อวัน สหรัฐฯ จะพยายามร่วมมือกับพันธมิตรของเราในการกำจัดความยากจนภายใน 2 ทศวรรษข้างหน้า ด้วยการเชื่อมโยงผู้คนเข้ากับเศรษฐกิจโลก เสริมอำนาจให้ผู้หญิงแข็งแกร่งมากขึ้น ให้โอกาสผู้คน ทั้งอำนาจ การศึกษา ที่จะทำให้ผู้คนรักษ์โลกด้วยการปกป้องเด็กๆ จากความตาย และให้ตระหนักต่อคำมั่นที่ว่า นี่จะเป็นเราจะต้องทำให้เป็นยุคแห่งการปลอดโรคเอดส์ให้ได้
The Washington Post อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ นางฮิลลารี คลินตันได้เคยกล่าวเป้าหมายนี้เป็นครั้งแรกในช่วงปลายปี 2011 หลังจากนั้น 1 ปี กระทรวงต่างประเทศสหรัฐได้เผยพิมพ์เขียวสำหรับการบรรลุเป้าหมายนี้ นี่คือประเด็นที่ยิ่งใหญ่มาก แต่สำนักงานเอดส์แห่งองค์การสหประชาชาติก็ระบุว่า มันสามารถประสบผลสำเร็จได้
บารัค โอบามา State of the Union address, Official White House Photo by Pete Souza
11. วาทศิลป์นุ่มๆ กับการหว่านล้อมซีเรีย
State of the Union เราเห็นความเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ ซึ่งถือเป็นความหวังอันทรงพลังมากจากย่างกุ้ง พม่า เห็นผู้คนบนท้องถนนโบกสะบัดธงชาติอเมริกัน และพูดว่า อยากให้ประเทศบ้านเมืองของเขา (พม่า) มีกฎหมายและมีความยุติธรรมอย่างในอเมริกา
ในเรื่องเสรีภาพด้านความมั่นคง เรายังคงให้ความสำคัญกับชาติแอฟริกาซึ่งเป็นพันธมิตรของเราอย่างเหนียวแน่น รวมทั้งยุโรปและเอเชียด้วย ในขณะที่ตะวันออกกลางนั้น เรายังคงยืนหยัดไปพร้อมกับพลเมืองที่เขาต้องการสิทธิอันเป็นสากลและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยอย่างมีเสถียรภาพ
เราพบว่ากระบวนการดังกล่าวสร้างความยากลำบาก และเราไม่สามารถสันนิษฐานได้ว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างในอียิปต์ แต่เราสามารถเคารพซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคน เราจะยังคงกดดันระบอบซีเรียอย่างต่อเนื่อง ที่มีการสังหารประชาชนของตนเอง และสนับสนุนผู้นำฝ่ายต่อต้านที่เคารพสิทธิของชาวซีเรียนทุกคน และเราจะยังแน่วแน่ต่อจุดยืนนี้กับอิสราเอลด้วย ที่ยังคงดำเนินการด้านความมั่นคงเพื่อให้เกิดสันติภาพอย่างยาวนาน

The Washington Post โอบามาแสดงให้เห็นว่าจะส่งเสริม ซึ่งมีความหมายที่ให้ความรู้สึกแข็งกร้าวน้อยกว่าที่คลินตันและพาเน็ตตาเคยกล่าวไว้ ในแผนการให้ความสนับสนุนแก่กลุ่มต่อต้าน เขากำหนดเงื่อนไขว่าสหรัฐจะสนับสนุนกลุ่มที่เคารพต่อสิทธิของชาวซีเรียนทุกคน ซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่ได้หมายรวมถึงกลุ่มที่ทรงอำนาจที่สุดในซีเรีย ซึ่งกลุ่มนั้นอาจจะเชื่อมโยงกับอัลกออิดะห์
www.suksrifa.blogspot.com

นโยบายต่างประเทศของไทยต่อประเทศจีน

 นโยบายต่างประเทศของไทยต่อประเทศจีน


1. ลักษณะนโยบาย ไทยและจีนมีการติดต่อสัมพันธ์กันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย การดำเนินความสัมพันธ์มีทั้งด้านบวกคือการไม่ขัดแย้งกัน และด้านลบคือการขัดแย้งกัน ในอดีตเมื่อจีนยังไม่ได้ปกครองประเทศด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์นั้น ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศดำเนินไปด้วยดีมาตลอดแต่เมื่อจีนเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบสาธารณรัฐ ในปี พ.ศ. 2454 ได้มีการปลุกระดมความเป็นชาตินิยมในหมู่ชาวจีนในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้ทรงเป็นนักชาตินิยมได้ทัดทานบทบาทของชาวจีนในไทย ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจระหว่างประเทศทั้งสอง และขยายตัวมากขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ขณะเดียวกันได้เกิดการปฏิวัติโดยพรรคคอมมิวนิสต์ในจีน ซึ่งไทยไม่ประสงค์ในสิทธิดังกล่าวจึงเกิดการต่อต้านชาวจีนมากขึ้น โดยเลือกมีสัมพันธภาพกับจีนไต้หวัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 สมัย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีการปรับท่าทีและสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
2. ปัจจัยภายใน การเปลี่ยนแปลงในระบบระหว่างประเทศ นับตั้งแต่เกิดสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตความขัดแย้ง ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียต การลดบทบาทในอินโดจีนของสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศอินโดจีนกลายเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ และสหภาพโซเวียตเข้ามามีอิทธิพบในอินโดจีน รวมทั้งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของไทยทั้งสิ้น เนื่องจากไทยเป็นประเทศเล็กจำเป็นต้องผูกพันกับประเทศใหญ่เพื่อเป็นเกราะ ป้องกันให้กับตนเอง ไทยจึงมีนโยบายคล้อยตามสหรัฐอเมริกา การกำหนดความสัมพันธ์ของไทยกับจีนนั้นมาจากปัจจัยภายในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1) ด้านผู้นำไทย ในอดีตช่วยปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวจีนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้สร้างทัศนคติด้านลบแก่ผู้นำไทย ด้วยการก่อความไม่สงบขึ้น เช่น จัดตั้งสมาคมอั้งยี่ และการไม่ยอมรับอำนาจของศาลไทย รวมทั้งการครอบงำเศรษฐกิจของชาวจีน ทำใ
ไม่พอใจให้กับผู้นำไทยมากยิ่งขึ้น เมื่อจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ผู้นำไทยในช่วงปีพ.ศ. 2493-2513 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารมีนโยบายต่อต้านภัยจากคอมมิวนิสต์ ยิ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไทยปฏิเสธความสัมพันธ์กับจีนมากขึ้น จนกระทั่งสถานการณ์การเมืองเปลี่ยนแปลงไปผู้นำไทยจึงหันมาสถาปนาความสัพ มันธ์กับจีนในปี พ.ศ. 2518
2) ด้านการเมือง หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา กลุ่มที่มีบทบาททางการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศในฐานะรัฐบาลมีทั้งกลุ่ม พลเรือนและกลุ่มทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงปี พ.ศ. 2500-2513 รัฐบาลเผด็จการทหารที่นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่าวงรุนแรง หากผู้ใดคณะใดมีความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนจะถือว่าเป็นการกระทำผิด กฎหมาย แต่หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ทัศนะต่าง ๆ ของประชาชนหลายกลุ่มต่อการเปิดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้รับ การพิจารณามากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในอินโดจีนและลกเปลี่ยนไป
3) ด้านการทหาร แม้ว่าประเทศไทยจะทุ่มเทงบประมาณเพื่อพัฒนากองทัพให้เข้มแข็ง แต่หาเปรียบเทียบกับจีนแล้วไทยยังอยู่ในระดับต่ำกว่ามาก ไม่ว่าด้านกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ อย่างไรก็ตาม ศักยภาพด้านการทหารไม่ได้ส่งผลต่อการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากนัก
4) ด้านเศรษฐกิจ ช่วงปี พ.ศ. 2500-2518 ประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-4 เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม เช่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และเกาหลี ซึ่งประสบความสำเร็จแล้ว ผลจากการพัฒนาทำให้เขตเมืองมีการเจริญเติบโตอย่างมาก ทั้งนี้โดยอาศัยทรัพยากรทั้งทางธรรมชาติและแรงงานคนจากเขตชนบท ทำให้รายได้และมาตรฐานการครองชีพในเขตเมืองสูงขึ้น ขณะที่รายได้ของเขตชนบทต่ำแต่ค่าครองชีพสูงขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Grose Demestic Product : GDP) สูงขึ้น ขณะเดียวกันจำนวนประชากรยากจนก็มีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา นอกจากนี้ตัวเลขการขาดดุลของประเทศได้เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากไทยต้องอาศัยวิทยาการและเทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องซื้อหามาด้วยราคาที่แพงมาก รวมทั้งเงินกู้ต่างประเทศยังเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำนวนมากจนกลายเป็นประเทศที่มี หนี้สินมากประเทศหนึ่ง
3. ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบายของไทยกับจีน มีดังนี้
1) สถานการณ์ภูมิภาค นับตั้งแต่มีการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปี พ.ศ. 2492 เป็นต้นมาจนถึงปี พ.ศ. 2528 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนไม่ค่อยราบรื่นนัก เนื่องจากจีนให้ความช่วยเหลือเวียดนามเพื่อต่อสู้กับฝรั่งเศส รวมทั้งสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งเกิดการรวมเป็นประเทศเวียดนามเดียวภายใต้ระบอบสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ ในช่วงปี พ.ศ. 2518-2519 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ประสบชัยชนะในสงครามการเมืองในประเทศ เพื่อนบ้านของไทย โดยเกิดการปฏิวัติขึ้นในลาวและกัมพูชา หลังจากนั้นเวียดนามได้พยายามเข้ามามีอิทธิพลทางการเมืองและการทหารเหนือ กัมพูชาและลาว การกระทำของเวียดนามดังกล่าวทำให้เกิดข้อขัดแย้งอย่างรุนแรงกับจีน และจากปัญหาความขัดแย้งภายในของกัมพูชาซึ่งจีนให้การสนับสนุนอยู่ได้เป็น ปัญหาสำคัญต่อความมั่นคงของไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากไทยให้ที่พักพิงแก่ฝ่ายรัฐบาลผสมเขมรสามฝ่ายต่อต้านรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งจีนให้การสนับสนุนอาวุธแก่ฝ่ายต่อต้านด้วย ทำให้จีนและเวียดนามขัดแย้งกันจนเกิดการปะทะกันด้วยกำลัง จากบทบาทของจีนที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านของไทย ด้วยการสนับสนุนการขยายอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเปิดเผย พฤติกรรมเช่นนี้ย่อมไม่เป็นที่พึงประสงค์ของผู้นำไทย ต่อมาจีนได้ปรับเปลี่ยนนโยบายและบทบาททางการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ ไปในทางต่อต้านกับภัยที่คุกคามไทย ความขัดแย้งระหว่างไทยกับจีนได้ลดลงถึงขั้นร่วมมือกันต่อต้านเวียดนาม
2) สถานการณ์โลก หลังจากสหรัฐอเมริกาถอนทหารออกจากเวียดนามในปี พ.ศ. 2512 ขณะเดียวกันก็ได้เริ่มปรับความสัมพันธ์ทางการฑูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2515 เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต้องการเป็นพันธมิตรกัน เพื่อคานอำนาจและต่อต้านการขยายอิทธิพลสิทธิครองความเป็นเจ้าของสหภาพ โซเวียตที่ให้การสนับสนุนเวียดนาม สำหรับประเทศไทยก็ได้ปรับท่าทีโดยหันมาเปิดความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างกัน ในปี พ.ศ. 2518
2. ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน
1) ด้านการเมือง นับตั้งแต่จีนเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ประเทศไทยซึ่งมีความผูกพันกับสหรัฐอเมริกาและมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองมีความตึงเครียด เนื่องจากปัญหาด้านอุดมการณ์และความมั่นคง แต่หลังจากสถานการณ์ในภูมิภาคและโลกเปลี่ยนแปลงไป ประเทศไทยและจีนจึงปรับความสัมพันธ์ระหว่างกันในปี พ.ศ. 2518 สมัยรัฐบาลของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช สัมพันธภาพอันดีได้สะดุดลงชั่วขณะเมื่อเกิดการรัฐประหารในประเทศไทย โดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในปี พ.ศ. 2519 โดยมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนากรัฐมนตรี รัฐบาลชุดนี้มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง ต่อมาสภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีชุดนี้ได้ทำการรัฐประหารโดยมีพลเอกเกรียง ศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีนโยบายเป็นมิตรกับทุกประเทศ แม้จะมีอุดมการณ์ทางการเมืองและระบอบการปกครองแตกต่างกันก็ตาม และนับแต่นั้นเป็นต้นมา สัมพันธภาพทางการเมืองระหว่างไทยกับจีนก็ดำเนินมาด้วยดีโดยตลอด มีการเยี่ยมเยือนกันระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเสด็จเยือนประเทศจีนหลายครั้งซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของ ประเทศทั้งสอง
2) ด้านเศรษฐกิจ จากความสัมพันธ์ด้านการเมืองของไทยและจีนมีผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งสอง เช่น การทำความตกลงทางการค้า การลงทุนร่วมกัน การซื้อ-ขายสินค้าระหว่างกัน เป็นต้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492-2514 นั้น เป็นระยะที่มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง เพราะไทยได้กระทำรุนแรงทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะหลังปี พ.ศ. 2502 คือ การปฏิเสธการค้ากับจีน ห้ามการติดต่อค้าขายตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 53 ต่อมาได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ทางการเมือง จึงได้มีการติดต่อทางการค้า การค้าเสรีระหว่างเอกชนไทยกับรัฐบาลขึ้นได้เริ่มขึ้นนับตั้งแต่มีการสถาปนา ความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างกันเป็นต้นมา ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศขยายตัวขึ้นมากทั้ง ๆ ที่จีนต้องการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองให้มากที่สุด การเปลี่ยนเปลี่ยนทางการพัฒนาประเทศของจีนเมื่อปี พ.ศ. 2521 ด้วยการประกาศนโยบาย 4 ทันสมัย ซึ่งได้แก่ เร่งรัดความทันสมัยด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การทหาร และเทคโนโลยี ได้สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ไทยพอสมควร เพราะเปิดโอกาสให้เอกชนไทยเข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งมีระบบการบริหารแบบทุนนิยมผสมกับสังคมนิยมกลุ่มเศรษฐกิจไทยดังกล่าว ได้แก่กลุ่มเจียไต๋ ซึ่งลงทุนด้านโรงงานแปรรูปอาหารสัตว์และเลี้ยงไก่ที่เมืองเซิงเจิ้น ซานโถว (ซัวเถา) ซิหลิน เหลี่ยวหนิง เซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอื่นที่ลงทุนด้านต่าง ๆ ได้แก่ การผลิตพรม โรงงานปุ๋ย โรงงานสร้างเรือยอร์ช สนามกอล์ฟ รถจักรยายนต์ กระจก และน้ำดื่ม เป็นต้น นอกจากนั้นได้มีการตกลงทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม สร้างข้อตกลงทางการค้า ขายสินค้าอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มีการส่งผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคไปช่วยเหลือกัน ยุติข้อกีดกันทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์ที่ดีอย่างสูงสุด แม้ว่าไทยจะขาดดุลการค้ากับจีนก็ตาม
3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมของไทยและจีนนั้นมีมานานแล้วก่อนการสถาปนา ความสัมพันธ์ทางการฑูตในปี พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความตึงเครียดระหว่างกัน โดยมีการเยี่ยมเยือนจีนของคณะต่าง ๆ ทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น คณะบาสเกตบอล คณะผู้แทนกรรมกรไทย คณะผู้แทนศิลปินไทย สมาคมพุทธศาสนา คณะสงฆ์ รวมทั้งคณะนักหนังสือพิมพ์ เป็นต้น จากเหตุการณ์ด้านวัฒนธรรมและวิชาการ อันได้แก่ การติดต่อแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกัน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การแลกเปลี่ยนผู้ทำงานด้านศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และงานด้านวิชาการ เป็นต้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมของไทยและจีนมีความร่วมมือกันย่างแน่นแฟ้น จนถึงปัจจุบันนี้


  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ กับมิตรภาพไทย-จีน
มิตรภาพไทย-จีนจะดีอย่างทุกวันนี้ไม่ได้เลย ถ้ามิได้รับการส่งเสริมจากพระบรมวงศานุวงศ์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพฯ
พระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ได้เสด็จเยือนจีนบ่อยๆ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนจีนครั้งหนึ่งอย่างเป็นทางการแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปี 2000 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ แต่ละพระองค์เสด็จเยือนจีนมาแล้วหลายครั้ง
สำหรับสมเด็จพระเทพฯ นั้น ทรงมีคุณูปการพิเศษสำหรับมิตรภาพไทย-จีน พระองค์เสด็จเยือนจีนครั้งแรกเมื่อวันที่ 12-20 พฤษภาคม 1981 ในครั้งนั้นนอกจากมหานครปักกิ่ง พระองค์ได้เสด็จเยือนจีนตะวันตกถึง 3 แห่ง คือ เฉิงตู ซีอัน และคุนหมิง ในช่วง 29 ปีที่ผ่านมา พระองค์เสด็จเยือนจีนแล้ว 31 ครั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อเดือนเมษายนปีนี้เอง พระองค์เสด็จมาเปิดโรงเรียนพระราชทานที่เมืองเหมียนหยาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชกรณียกิจอื่นๆ ในจีน พระองค์ได้เสด็จเยือนจีนแล้วครบทั้ง 4 มหานคร 23 มณฑล 5 เขตปกครองตนเอง พระองค์ได้รับการยกย่องจากสมาคมมิตรภาพวิเทศสัมพันธ์แห่งประชาชนจีนว่าทรงเป็น ทูตสันถวไมตรีระหว่างไทย-จีน” (2004) และทรงได้รับรางวัล มิตรภาพนานาชาติ” 10 อันดับแรกในโลกของสาธารณรัฐประชาชนจีน (2009)
การเสด็จเยือนจีนของสมเด็จพระเทพฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางในสื่อมวลชนไทย ในโอกาสนั้น คนไทยผู้ชมโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจทั้ง 6 ช่อง จะมีโอกาส (เหมือนกับได้ตามเสด็จ) ได้ชื่นชมศิลปวัฒนธรรมและความงามธรรมชาติของจีนอย่างทั่วถึง พระองค์ทรงอุตสาหะศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจีน เป็นแรงดลใจให้คนอื่นก็สนใจเรียนภาษาและวัฒนธรรมจีนด้วย หนังสือพระราชนิพนธ์เรื่องการเสด็จเยือนจีน (อย่างน้อย 9 เรื่อง ไม่รวมงานแปลจากภาษาจีน) ของพระองค์ก็ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางในหมู่คนไทย
เข้าใจว่าคนจีนและคนที่ไม่ได้ศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาจจะไม่เข้าใจหรือไม่ซาบซึ้งถึงผลงานอันใหญ่หลวงของสมเด็จพระเทพฯ เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจในการส่งเสริมมิตรภาพไทย-จีน สิ่งที่พระองค์ทรงทำอย่างได้ผลเหนือบุคคลอื่นๆ คือ
(1) พระองค์ทรงมีความวิริยะอุตสาหะ ใฝ่รู้ใฝ่เห็น ทรงจดบันทึกสิ่งที่ได้ฟังได้เห็นตามสถานที่ต่างๆ ที่เสด็จไปเยือนอย่างละเอียด เพื่อเป็นข้อมูลถ่ายทอดให้คนไทยทราบในโอกาสต่างๆ
(2) พระองค์ทรงเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า คนไทยสนใจติดตามชื่นชมในพระราชกรณียกิจของพระองค์อยู่ตลอดเวลา
(3) คนจีนเป็นเจ้าภาพที่ดี ถวายการต้อนรับสมเด็จพระเทพฯ อย่างดีเยี่ยมตลอด คนไทยก็เป็นคนรู้คุณคน มิตรจิตที่คนจีนถวายต่อสมเด็จพระเทพฯ ที่เรารักและเทิดทูนนั้น ย่อมได้รับการตอบแทนเป็นทวีคูณ
(4) การรายงานข่าวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเทพฯ ในการเสด็จเยือนจีนทุกครั้งย่อมมีแต่แง่ดี น่าชื่นชม ซึ่งย่อมเป็นผลดีต่อการกระชับมิตรภาพไทย-จีนยิ่งๆ ขึ้น
(5) โทรทัศน์ของไทยทุกช่อง (6 ช่อง) มีเครือข่ายแพร่ข่าวทั่วประเทศ เสนอข่าวราชสำนักในรูปแบบ รวมการเฉพาะกิจ” (คือ ทุกช่องต้องเสนอข่าวนี้ในเวลา 20.00 น.) โดยการเสนอข่าวเกี่ยวกับการเสด็จเยือนจีนของสมเด็จพระเทพฯ อย่างละเอียด เชื่อว่าประชาชนคนไทยเกือบทั้งหมด รู้จักจีนฯ เข้าใจจีน และเป็นมิตรกับจีนตามรอยพระบาทของสมเด็จพระเทพฯ
ประเทศอื่นไม่มีโชคดีเท่ากับประเทศไทย-จีนที่มีปรากฏการณ์พิเศษเช่นนี้ การที่คนจีนได้ลงคะแนนเสียงทางอินเตอร์เนตยกย่องให้พระองค์ทรงได้รับรางวัล มิตรภาพนานาชาติของจีนในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา ด้วยคะแนนมากกว่า 2 ล้านเสียง ซึ่งนับเป็นอันดับที่ 2 ของจำนวน 10 คนนั้น คนไทยย่อมยินดีปรีดาและภูมิใจในพระอัจฉริยะภาพของพระองค์แต่ข้าพเจ้าคิดว่าคนจีนโดยทั่วไปคงไม่มีโอกาสเหมือนคนไทยที่ได้ชม โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจการเยือนจีนของพระองค์ มิเช่นนั้น คนจีน 56 ล้านคนที่ใช้สิทธิลงคะแนนเลือกมิตรที่ดีที่สุดของจีนในรอบ 100 ปีนั้น คงจะลงคะแนนให้สมเด็จพระเทพฯ มากกว่าที่เป็นอยู่หลายเท่า สำหรับคนไทยที่ติดตามพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเทพฯ ในการส่งเสริมมิตรภาพไทย-จีน คงจะลงคะแนนเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่มีใครอื่นอีกแล้วในประวัติศาสตร์ชาติไทยในรอบ 700 ปีที่ผ่านมา ที่มีผลงานทัดเทียมกับสมเด็จพระเทพฯ
ภารกิจสำคัญที่ไทย-จีนควรร่วมมือกันสานต่อ
ในหัวข้อนี้ เรามาช่วยกันมองอนาคต ดูว่าในความสัมพันธ์ไทยจีนนั้น มีอะไรบ้างที่ทำแล้วจะช่วยเพิ่มพูนผลประโยชน์ให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศของเรา
คนจีนที่อยู่ในที่นี้ส่วนมากคงจะมีภูมิลำเนาอยู่ที่นครเฉิงตู และสนใจเรื่องความสัมพันธ์ไทย-จีน เชื่อว่าท่านคงจะมีความรู้เรื่องความสัมพันธ์ไทย-จีนในระดับหนึ่ง และอาจจะอยากเห็นความสัมพันธ์ไทย-จีนให้ดียิ่งๆขึ้น ข้าพเจ้าเป็นคนไทย เหมือนเพื่อนร่วมชาติอีกหลายคนที่อยู่ในที่นี้ มีภูมิหลังและข้อมูลแตกต่างจากคนจีน เราอาจจะมีเป้าหมายเหมือนกัน แต่ก็อาจจะมองเห็นปัญหาหรือความปรารถนาอะไรที่แตกต่างกัน โดยความเห็นส่วนตัว ข้าพเจ้าอยากเห็นเรามาร่วมมือกันคิดและทำสิ่งต่อไปนี้ในช่วง 3 ปี, 5 ปี หรือ 10 ปี ซึ่งได้แก่
(1) พยายามหาทางเผยแพร่วัฒนธรรมให้สมดุลกันมากกว่าที่เป็นอยู่ ข้อตกลงที่มีอยู่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นมีมากเพียงพอแล้ว ปัญหาอยู่ที่การปฏิบัติ การเผยแพร่วัฒนธรรมจีนไปสู่ประเทศไทยนั้นได้ทำกันอย่างคึกคักอย่างต่อเนื่อง เราได้อานิสงส์จากพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเทพฯ มีทางหรือไม่ที่จะเพิ่มช่องทางเผยแพร่ข่าวสารที่สมเด็จพระเทพฯ ทรงปฏิบัติ ไปสู่คนจีนในระดับต่างๆ จนถึงระดับรากหญ้าให้กว้างขวางมากขึ้น มีทางหรือไม่ที่จะหาผู้นำของจีนระดับชาติ ระดับมหานคร, มณฑล, เขตปกครองตนเอง ทำหน้าที่เป็นสื่อเหมือนสมเด็จพระเทพฯ ในการแนะนำให้คนจีนทุกระดับ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนตะวันตก) รู้จักไทยมากขึ้น ได้รับความสุขจากการสัมผัสวัฒนธรรมไทยมากขึ้น เอาวิทยุหรือโทรทัศน์ท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์เพื่อการนี้อย่างไร
(2) เรื่องความร่วมมือไทย-จีนในด้านการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรม ก็มีปัญหาทำนองเดียวกัน ปัจจุบันจีนช่วยไทยในด้านการเรียนการสอนภาษาจีนในไทยคิดเป็นมูลค่าคงไม่ต่ำกว่าปีละ 150 ล้านบาท ให้ทุนครูไทยที่สอนภาษาจีนมาอบรม-ดูงานในจีน จัดทำตำราและสื่อการสอนภาษาจีนให้ จัดส่งครูอาสาสมัครชาวจีนไปสอนภาษาจีนในไทย ตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,000 คน3 แต่การเรียนการสอนภาษาจีนในไทย (ซึ่งปัจจุบันมีคนเรียนอยู่ทั้งในระบบและนอกระบบไม่ต่ำกว่า 500,000 คน) ยังไม่ค่อยได้ผล ควรหาทางปรับปรุงรูปแบบของการให้ความช่วยเหลือ นอกจากนั้น กิจกรรมการแลกเปลี่ยนที่ฝ่ายไทยช่วยเหลือจีน ในด้านการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทยในจีนยังมีน้อยมาก ยิ่งกว่านั้น ควรเพิ่มการมีส่วนร่วมของคนจีนตะวันตก (นอกจากมณฑลหยุนหนานและเขตปกครองตนเองกว่างซี) ให้มากขึ้น
(3) ความร่วมมือไทย-จีนในด้านการทำวิจัยยังมีน้อย สถาบันวิจัยหรือมหาวิทยาลัยของไทยและจีน ควรหาคู่ทำวิจัย (เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-มหาวิทยาลัยเฉิงตู) ในหัวข้อที่ไทย-จีนมีประโยชน์ร่วมกัน (เช่น เรื่องการลงทุนในไทยของจีนตะวันตกแห่งใดแห่งหนึ่ง หรือพฤติกรรมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวไทยในมณฑลซื่อชวน เป็นต้น) พยายามหาเรื่องทำร่วมกันในด้านความมั่นคงในความหมายอย่างกว้าง และความร่วมมือกันด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีด้วย
(4) มหาวิทยาลัยต่างๆ ในไทย และในจีนตะวันตก ควรทำความตกลงแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญกันให้มากขึ้น เนื่องจากยังมีกำแพงด้านภาษา ในขั้นแรก ควรแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญทางด้านสังคมศาสตร์ ให้คนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคมของประเทศหนึ่งไปสอน หรือบรรยายพิเศษ หรือเป็นแหล่งข้อมูลในเรื่องที่ตนเชี่ยวชาญในอีกประเทศหนึ่ง ความรู้ที่คนไทยอยากได้เกี่ยวกับจีนตะวันตก น่าจะมาจากชาวพื้นเมืองของจีนตะวันตกโดยตรง

(5) ความร่วมมือไทย-จีนตะวันตกในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารควรมีมากขึ้น หน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนควรสำรวจดูว่า ตนมีกิจกรรมอะไรบ้างที่อาจร่วมมือกันในรูปแบบต่างๆ (เช่น มีกลไกในการปรึกษาหารือ หรือมีคณะกรรมการ เป็นต้น) ตามความเหมาะสม เป็นต้นว่า องค์กรบริหารงานของเขื่อนพลังน้ำไฟฟ้าตอนเหนือของแม่น้ำโขงในจีน ในหยุนหนานควรทำข้อตกลงกับกรมชลประทานของไทยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับระดับน้ำ และการเก็บปล่อยน้ำที่เขื่อนต่างๆ ในมณฑลหยุนหนาน ฝ่ายจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายของไทย ก็ควรตกลงกับองค์กรบริหารของจีนที่เหมาะสมเกี่ยวกับขบวนการค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ และอาชญากรข้ามชาติอื่นๆ ตามชายแดนไทย-พม่า และไทย-ลาวแจ้งให้ฝ่ายจีนทราบเป็นระยะๆ เป็นต้น
www.suksrifa.blogspot.com

นโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่น


นโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่น
ดูเหมือนจะมีความเห็นสอดคล้องกันว่าด้วยเรื่องการเยียวยาเศรษฐกิจญี่ปุ่นเพื่ออนาคตที่ดี หนึ่งในวิธีการคือการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อเสริมประสิทธิภาพของเศรษฐกิจ ต้องดำเนินการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมที่ด้อยประสิทธิภาพต่อไป ที่สำคัญต้องสร้างเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมที่ดีพอและให้ภาคเกษตรดำรงบทบาทหลากหลาย เช่น การอนุรักษ์ที่ดินของชาติ นอกจากนี้ยังต้องปฏิรูปต่อไปเพื่อขยายและปรับปรุงภาคบริการภายในภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่ภาคการธนาคาร การประกันภัย และหลักทรัพย์ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นธุรกิจของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นที่เรียกว่าบิ๊กแบง (Big Bang) กำลังอยู่ในระหว่างการปฏิรูป ภาคอื่นๆ เช่น การก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์และการค้าปลีกก็ต้องการการปฏิรูปที่เป็นจริงเป็นจัง ทุกภาคอุตสาหกรรมต้องแสวงหาความมีประสิทธิภาพโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นโยบายยกเลิกการควบคุม และส่งเสริมนโยบายการแข่งขันสำหรับภาคโทรคมนาคมซึ่งต้องดำเนินต่อไปอย่างแข็งขันหากจะให้ "การปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ" นั้นประสบผล รัฐบาลจะต้องเสริมความแข็งแกร่งให้แก่โครงสร้างนโยบายทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดกิจกรรมทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่บริษัทเอกชนก็ควรที่จะดำเนินการบริหารจัดการโดยมุ่งเน้นผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น

ด้วยนโยบายเศรษฐกิจมหภาค นโยบายยกเลิกการควบคุม และนโยบายเสริมสร้างการแข่งขันที่เหมาะสมของรัฐบาล การปฏิรูปดังเช่นนี้จะขับเคลื่อนกลไกตลาดได้หรือไม่ ? คงใช่บางส่วน ที่จริงแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นในระหว่างกระบวนการเปิดเสรีทางการตลาด ก็คือพฤติกรรมของภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย เช่น วิกฤติการน้ำมัน และการแข็งค่าขึ้นของเงินเยน เพราะการตกลง Plaza accord ในปี ค.ศ.1985 เงินเยนที่แข็งค่าขึ้นนี้มีส่วนเร่งในการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงของบริษัทญี่ปุ่นเป็นอย่างมากในเอเชีย สหรัฐอเมริกาและยุโรป ก่อให้เกิดระบบที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในการแบ่งงานและการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ กิจกรรมของบริษัทที่ขยายกิจการไปทั่วโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างมาก การแข่งขันกับบริษัทเหล่านี้จากอเมริกาและยุโรปได้กดดันให้บริษัทญี่ปุ่นต้องปฎิรูปตนเอง อนึ่ง อาจมีความคิดเห็นขึ้นมาได้ว่า สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการไหลเวียนของเงินทุนระดับโลกได้ทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงอาจจะจัดได้ว่า ผู้วางนโยบายเพียงแต่หามาตรการสนับสนุนกลไกตลาดดังกล่าวให้แข่งแรงขึ้นก็เป็นการเพียงพอแล้ว

แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวก็อาจจะไม่เพียงพอที่จะรับมือกับปัญหาพื้นฐาน ปัญหาที่แท้จริงในด้านโครงสร้างสำหรับประเทศญี่ปุ่น คือ อัตราการเกิดที่ลดลงและการเพิ่มของจำนวนประชากรสูงอายุจะมีผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในอนาคตอันใกล้ ในอดีตประชากรวัยแรงงานมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และจะเพิ่มขึ้นจนถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 2005 แล้วก็จะเริ่มลดลง ในอีกด้านหนึ่งประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นตลอด และคาดการณ์ว่าประชากร กลุ่มดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 ของประชากรทั้งหมดในปี ค.ศ.2015 นั่นหมายถึงว่าหนึ่งในสี่ของประชากรรวมทั้งตัวข้าพเจ้าเองจะมีอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งก็มีความหมายชัดเจนในตัวอยู่แล้ว นั่นก็คือเศรษฐกิจจะเติบโตไม่ได้หากปราศจากการเพิ่มขึ้นของประสิทธิผลต่อแรงงาน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นก็คือ การขาดแคลนแรงงาน นอกจากนั้น ภาระค่าสวัสดิการสังคมก็จะสูงขึ้น เพราะจำนวนแรงงานที่ต้องเลี้ยงดูผู้สูงอายุมีน้อยลง ขณะที่ผู้ที่ต้องได้รับการเลี้ยงดูมีจำนวนมากขึ้น ค่าแรงจะสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของภาระประกันสังคม ค่าสวัสดิการสังคมที่เพิ่มขึ้นจะยิ่งเป็นภาระต่องบประมาณของรัฐ ท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าวประเทศญี่ปุ่นจะต้องลดการขาดดุลงบประมาณ ผู้ที่มองโลกในแง่ดีอาจกล่าวว่า การขาดแคลนแรงงานจะบังคับให้เศรษฐกิจต้องประหยัดแรงงานและกระตุ้นการพัฒนาทางเทคโนโลยีโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ และอาจจะกล่าวด้วยว่าประชากรสูงอายุจะมีส่วนช่วยการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าการพัฒนาดังกล่าวไม่น่าจะสามารถผลักดันให้เกิดการเจริญเติบโตในอัตราร้อยละ 2 ตามแผนประมาณการในขณะนี้ได้ ไม่มีชาติอุตสาหกรรมใดที่เคยประสบกับสังคมที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นจำต้องแสวงหาสองสิ่งในเวลาเดียวกัน คือหนึ่งจะต้องทำให้เศรษฐกิจมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยการปฏิรูปโครงสร้างใน ขณะที่ต้องรับมือกับปัญหาเนื้อแท้ในด้านโครงสร้างของสังคมซึ่งจะมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น เราจะหา "พลัง" เพื่อฟันฝ่าปัญหาที่ยากเช่นนั้นได้จากที่ใด ? ไม่มีใครสงสัยในการเปลี่ยนแปลงตนเองของประเทศญี่ปุ่นเพื่อการดำเนินเศรษฐกิจของตนให้มีประสิทธิภาพ อาจมีคำถามว่า อะไรที่จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเราจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ? ดังนั้นจะเป็นการดีที่จะได้ศึกษาว่าสิ่งใดที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศญี่ปุ่นในอดีต และปรัชญาใดที่ผลักดันสาธารณชนไปสู่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
  • ความท้าทายสำหรับประเทศญี่ปุ่น
สิ่งที่สำคัญอันดับแรกสำหรับญี่ปุ่น ก็คือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของตนอีกครั้ง ทั้งนี้มิได้เพื่อประโยชน์ของตนแต่เพียงอย่างเดียวแต่เพื่อการพัฒนาของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ด้วย เพื่อจุดหมายนี้ ประเทศญี่ปุ่นจะต้องสร้างโครงสร้างเพื่อให้ผู้คน สิ่งของ บริการ และเงินตราสามารถหมุนเวียนผ่านแดนได้อย่างเสรีกว่าปัจจุบัน พื้นฐานของเหตุผลสำหรับนโยบายดังกล่าวมิใช่ "การบรรลุความรับผิดชอบในฐานะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2" อีกต่อไป ทว่ากลับเป็น "ความท้าทาย" ใหม่ซึ่งประเทศญี่ปุ่นต้องรับท้าเพื่อฟื้นความแข็งแกร่งของตนใหม่ พลังผลักดันสำหรับความท้าทายนี้ก็คือ "ไนอัทสึ" (แรงกดดันภายใน) มากกว่า "ไกอัทสุ" ประเทศญี่ปุ่นไม่ควรพึ่ง "ไกอัทสุ" อีกต่อไป
ในทศวรรษ 90 ประเทศอื่น ๆ ในโลกได้เร่งเคลื่อนไหวเพื่อการรวมตัวกันในระดับทวิภาคีหรือระดับภูมิภาครวมถึงข้อตกลงการค้าเสรีให้เป็นกรอบในการสร้างเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นไม่เลือกที่จะเข้าร่วมทำข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคี หรือการรวมตัวทางเศรษฐกิจในเอเชีย ? มีข้อตกลงการค้าเสรีมากกว่า 120 รายการในโลก การรวมตัวกันระดับทวิภาคีหรือระดับภูมิภาคทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่แข็งแกร่งในเวลานั้น แนวโน้มเช่นนั้นดูจะโดดเด่นมากในทศวรรษ 90 ในบรรดาประเทศใหญ่ มีเพียงญี่ปุ่น เกาหลี และจีนที่มิได้มีการตกลงในข้อตกลงการค้าเสรี หมายความว่ามีเหตุผลที่ญี่ปุ่นไม่ควรแสวงหาข้อตกลงการค้าเสรีหรือว่าการแสวงหาข้อตกลงการค้าเสรีมิอาจเป็นจริงได้ ? ทางเลือกสำหรับคริสต์ศตวรรษ 2000 จะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงหรือไม่ ?
ดังที่ได้อภิปรายมาในข้างต้น กระบวนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเป็นกระบวนการรวมตัวเองเข้ากับระบบการค้าเสรีพหุภาคี ส่วนหนึ่งเพราะว่าประเทศญี่ปุ่นถูกเลือกปฎิบัติในช่วงแรกหลังสงครามยุติใหม่ ๆ ประเทศญี่ปุ่นมุ่งกับการเปิดตลาดเสรีตามหลักการพื้นฐาน ในการไม่เลือกปฏิบัติของ GATT แม้ประเทศญี่ปุ่นเปิดตลาดของตนโดยการลดอัตราภาษีศุลกากรและยกเลิกการกีดกันที่ไม่ใช่ทางภาษีศุลกากรด้วยการเจรจาทางการค้ากับสหรัฐอเมริกา ผลของการเจรจาดังกล่าวได้นำไปใช้กับคู่สัญญาทุกฝ่ายของ GATT โดยยึดตามหลักการการไม่เลือกปฏิบัติ การธำรงและเสริมสร้างระบบการค้าเสรีพหุภาคีถือเป็นนโยบายสำคัญของชาติ ประเทศญี่ปุ่นจึงได้ตกลงเปิดตลาดข้าวในการเจรจาการค้ารอบอุรุกวัยของ GATT
ในขณะเดียวกัน การทำข้อตกลงการค้าเสรีก็ไม่ขัดกับระบบการค้าเสรีพหุภาคีซึ่งรับรองโดย GATT และ WTO ซึ่งเป็นองค์การสืบต่อจาก GATT ตามข้อตกลง WTO ได้กำหนดกติกาว่าด้วยข้อตกลงการค้าเสรีด้วย หากไม่มีการกำหนดกติกา ข้อตกลงการค้าเสรีอาจกลายเป็นช่องทางให้ประเทศที่ลงนามเลือกปฏิบัติต่อประเทศที่ไม่ได้ลงนามในข้อตกลงด้วยการยกเลิกภาษีศุลกากรและกำแพงการค้าอื่น ๆ เฉพาะภายในกลุ่มมาตราที่ 24 ของ GATT กำหนดว่า จะอนุญาตให้มีข้อตกลงการค้าเสรีได้เฉพาะเมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไข เช่น การยกเลิกอัตราภาษีศุลกากรและข้อจำกัดทางการพาณิชย์อื่น ๆ ในการค้าทั้งหมดของระหว่างประเทศที่ลงนาม โดยมีเหตุผลสนับสนุนว่าการค้าเสรีที่สมบูรณ์แบบมากขึ้นแม้จะยังคงจำกัดอยู่เฉพาะในบางประเทศ แต่ในที่สุดจะนำไปสู่การขยายตัวของการค้าโลกอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมนานาชาติโดยรวม
ตามหลักการแล้ว มีความเป็นไปได้ที่ประเทศญี่ปุ่นจะดำเนินนโนบายในการส่งเสริมการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในระดับทวิภาคีหรือระดับภูมิภาคโดยทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศอื่น ๆ เช่นเดียวกับยุโรป สหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในขณะที่ให้การสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีของ GATT และ WTO เห็นได้ ชัดเจนว่าทำไมประเทศญี่ปุ่นจึงไม่ดำเนินนโยบายดังกล่าว ประเทศญี่ปุ่นไม่ได้เห็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือความจำเป็นทางการเมืองที่จะต้องดำเนินนโยบายดังกล่าว ด้วยการขยายตัวของการส่งออกและเศรษฐกิจของชาติ ชาวญี่ปุ่นจึงรู้สึกว่าอนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นสดใส การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มขึ้น ทำให้การเปิดตลาดในประเทศภายใต้หลักการไม่เลือกปฏิบัติสำคัญมากกว่าการแสวงหาข้อตกลงการค้าเสรี ในทางการเมืองประเทศญี่ปุ่นรู้ว่าจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเอเชีย-แฟซิฟิกโดยเฉพาะหลังจากการยุติของสงครามเย็น เพื่อจุดประสงค์นี้ ประเทศญี่ปุ่นเลือก APEC ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือในระดับภูมิภาคอย่างหลวม ๆ ระหว่างประเทศในเอเชีย-แปซิฟิกหลายประเทศมากกว่าการทำข้อตกลงการค้าเสรี
อย่างไรก็ตาม จากแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในประเทศและนอกประเทศทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้องกำหนดนโยบายใหม่ ในส่วนภายในประเทศก็จำเป็นจะต้องขยายตลาดโดยการส่งเสริมการไหลเวียนอย่างเสรียิ่งขึ้นของผู้คน สิ่งของ บริการ และเงินตรา หากต้องการอนาคตที่ดีท่ามกลางการขยายตัวของสังคมผู้สูงอายุ และการถดถอยของอัตราการเกิดต่ำลง ในอีกทางหนึ่ง ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียได้เพิ่มความเป็นประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการตลาดเพื่อโอกาสการเป็นพันธมิตรในอนาคตกับประเทศญี่ปุ่นในการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมรอบประเทศญี่ปุ่นมีความพร้อมมากขึ้นเป็นลำดับเพื่อที่จะดำเนินนโยบายใหม่ของประเทศญี่ปุ่น

แนวทางใหม่
เนื่องจากการรวมตัวกันของยุโรปได้ริเริ่มโดยความพยายามร่วมกันของประเทศฝรั่งเศสและเยอรมันและการรวมกันของ NAFTA เกิดจากข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหรัฐอเมริกาและแคนาดา การส่งเสริมการรวมเศรษฐกิจตลอดจนข้อตกลงการค้าเสรีจึงไม่สามารถกระทำได้โดยลำพังประเทศเดียว จำเป็นต้องมีประเทศหุ้นส่วนที่เห็นคุณค่าร่วมกัน สิงคโปร์เป็นประเทศหนึ่งที่สามารถเป็นคู่หุ้นส่วนดังกล่าว เพราะมีท่าทีเชิงบวกในการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ยังเป็นประเทศที่เศรษฐกิจมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในเดือนธันวาคม ค.ศ.1999 นายกรัฐมนตรี เคอิโซะ โอบุชิ แห่งประเทศญี่ปุ่น และนายกรัฐมนตรี โกะ จ๊ก ตง แห่งประเทศสิงคโปร์ได้ตกลงที่จะทำการศึกษาร่วมกันเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีในระดับนักธุรกิจ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญและข้าราชการ จากการศึกษาร่วมกันได้มีการเสนอข้อตกลงการค้าเสรีที่กว้างขวางระหว่างประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์สำหรับยุคใหม่ ข้อตกลงการค้าเสรีทั่วไปส่วนใหญ่จะครอบคลุมการยกเลิกภาษีศุลกากรและการกีดกันที่ไม่ใช่ทางภาษีศุลกากรกับสินค้า ข้อตกลงการค้าเสรีในศตวรรษที่ 21 ไม่ควรครอบคลุมเฉพาะเรื่องสินค้า แต่ควรแสวงหาความร่วมมือและความปรองดองในกติกาและรูปแบบในเกือบทุกส่วนของเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงความปรองดองในการเปิดเสรีทางการค้าบริการและการไหลเวียนของเงินทุน ความปรองดองในกฎระเบียบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ความร่วมมือในด้านการค้าไร้กระดาษ การบริการทางการเงิน และสื่อ/การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนบุคลากรและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พูดง่าย ๆ ก็คือ ควรจะยกเลิกพรมแดนทางเศรษฐกิจนั่นเอง
ทำไมต้องเป็นสิงคโปร์ ? มีเหตุผลบางประการ ประการแรกคือประเทศสิงคโปร์เป็นชาติที่ก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อคนใกล้เคียงกับรายได้ต่อคนของประเทศญี่ปุ่น มีระบบเศรษฐกิจที่ใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยี แม้จะมีจำนวนประชากรไม่ถึง 4 ล้านคน แต่ก็เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับ 7 และเป็นแหล่งการลงทุนที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 สำหรับบริษัทญี่ปุ่น ในขณะที่มีการชี้แจงว่าเป็นการยากที่จะบรรลุการแบ่งงานในแนวนอนได้โดยข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอุตสาหกรรมและประเทศกำลังพัฒนา ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศสิงคโปร์และประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศอุตสาหกรรมด้วยกัน สามารถส่งเสริมการแข่งขันและนำไปสู่เศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ภาษาที่เป็นทางการของสิงคโปร์ภาษาหนึ่งคือ ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่จำเป็นในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ประการที่สอง ประเทศสิงคโปร์มีพันธสัญญาต่อระบบการค้าพหุภาคีเช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่นและประเทศสิงคโปร์มีทัศนะร่วมกันว่า ทั้งสองประเทศสามารถและควรที่จะสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระดับทวิภาคีครอบคลุมสาขาหลากหลายกว้างขวางและขยายความสัมพันธ์นี้ไปสู่การเปิดเสรีและความร่วมมือระดับโลก ประการที่สาม ประเทศสิงคโปร์เป็นสมาชิกของอาเซียน และข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศสิงคโปร์จะช่วยเสริมความสัมพันธ์ของประเทศญี่ปุ่นกับอาเซียน ข้อตกลงการค้าเสรีแบบใหม่ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศสิงคโปร์สามารถใช้เป็นฐานสำหรับการเปิดเสรีและการกระตุ้นเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก ข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าวอาจบรรลุผลดียิ่งขึ้น หากประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์และประเทศที่มีภาวะทางเศรษฐกิจเติบโตถึงขั้นอีกประเทศหนึ่งคือ สาธารณรัฐเกาหลี เข้าร่วมในข้อตกลง แม้ว่าอาจจะเป็นการยากที่จะทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ และประเทศจีนในเวลานี้ เนื่องจากความแตกต่างในระดับภาวะความเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ทางเลือกดังกล่าวควรค่าแก่การแสวงหาในอนาคต เราคงต้องจำไว้ว่ายังคงมีหลักการบางประการที่จะต้องปฏิบัติตามเพื่อมุ่งสู่ทางเลือกในการทำข้อตกลงการค้าเสรี
ประการแรก ข้อตกลงการค้าเสรีไม่สามารถเป็นสิ่งทดแทนของระบบการค้าพหุภาคีหรือระบบ WTO (องค์การค้าโลก) ได้เลย WTO ยังต้องเป็นกรอบร่วมกันสำหรับระบบการค้าเสรีของโลกต่อไปและไม่ควรจะถูกทำลาย ชี้ให้ชัดกว่านี้คือไม่ควรทำข้อตกลงการค้าเสรีซึ่งไม่สอดคล้องกับกติกาของ WTO ความจริงแล้วกติกาของ GATT ในการยกเลิกอัตราภาษีศุลกากรและการกีดกันทางการค้าอื่น ๆ ต่อ "การค้าทั้งหมด" (substantially all the trade) มิได้หมายถึงการเปิดเสรีการค้าสินค้า 100 เปอร์เซ็นต์ WTO ตั้งเงื่อนไขยืดหยุ่นบางประการ เช่น ให้การยกเว้นสินค้าบางรายการในจำนวนจำกัด และให้ระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนถึง 10 ปี ยิ่งกว่านั้นเนื่องจากไม่ค่อยมีการค้าทางการเกษตรและภาคที่อ่อนไหวอื่น ๆ ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศสิงคโปร์ จึงอาจมีช่องทาง สำหรับทางออกที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ประเทศญี่ปุ่นไม่ควรลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีใด ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับกฎกติกาของ WTO เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นเคร่งครัดเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีอื่น ๆ ซึ่งสอดคล้องกับ WTO มาตลอด
ประการที่สอง ต้องตระหนักอย่างถ่องแท้ว่าจุดประสงค์ของข้อตกลงการค้าเสรีคือการเสริมสร้างการแข่งขันในบรรดาประเทศสมาชิกและนำไปสู่การเสริมประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในที่สุด กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นการไร้ความหมายที่ทำข้อตกลงโดยไม่กำหนดการเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูปใด ๆ การเปิดเสรีและการแข่งขันจำต้องเจ็บปวดจากการปฏิรูปโครงสร้าง แต่สิ่งนี้จะส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่นปฏิรูปเพื่อประโยชน์ของตนนอกจากนี้เมื่อทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชียซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจที่เล็กกว่าญี่ปุ่นมาก ประเทศญี่ปุ่นควรจะเอื้อเฟื้อต่อคำเรียกร้องของประเทศเหล่านั้น
ประการที่สาม ประเทศญี่ปุ่นควรจะเรียกร้องประเทศคู่เจรจาให้เปิดเสรีทางเศรษฐกิจ พึงระลึกว่าการทำเช่นนี้ในเอเชียจำต้องมีความรอบคอบเนื่องด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ ประเทศญี่ปุ่นต้องระมัดระวังให้มากพอที่จะไม่ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ว่าข้อตกลงการค้าเสรีในเอเชียตะวันออกเป็นเครื่องมือเพื่อการครอบงำทางเศรษฐกิจ สำหรับญี่ปุ่น พึงคำนึงว่าแม้การเปิดเสรีเป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่การเปิดเสรีอย่างรวดเร็วอาจจะส่งผลต่อเสถียรภาพของบางประเทศขึ้นอยู่กับระดับขั้นของพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ นอกจากนั้นในขณะที่ดำเนินการเพื่อเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการเสริมสร้างระบบก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน พิจารณาจากประเด็นเหล่านี้ประเทศญี่ปุ่นควรจะส่งเสริมการเปิดเสรีและการกระตุ้นเศรษฐกิจควบคู่กับประเทศหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ
ประการที่สี่ ไม่ควรให้มีการแปลการเคลื่อนไหวดังกล่าวผิดว่าเป็นความพยายามที่จะสร้างกลุ่มเศรษฐกิจภายในขึ้นในเอเชีย ทั้งนี้เป็นความพยายามเพื่อการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจมิใช่การสร้างกลุ่มในภูมิภาค
ประการที่ห้า ประเทศหุ้นส่วนของประเทศญี่ปุ่นในการทำข้อตกลงการค้าเสรีไม่ควรถูกจำกัดแต่เฉพาะประเทศในเอเชียตะวันออก ควรศึกษาเกี่ยวกับการทำข้อตกลงกับภูมิภาคอื่น ๆ หากมีความสำคัญในทางยุทธศาสตร์ ตัวอย่าง เช่น ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศเม็กซิโกที่ซึ่งธุรกิจญี่ปุ่นอยู่ในภาวะด้อยกว่าเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปก็ควรค่าแก่การพิจารณา ความสัมพันธ์กับบางประเทศ ซึ่งได้แสดงความสนใจในการทำข้อตกลงกับประเทศญี่ปุ่น เช่น สวิตเซอร์แลนด์และชิลี ก็เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาเช่นกัน
ประการสุดท้าย แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นยังมีความสัมพันธ์กับประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออก แต่สหรัฐอเมริกาก็ยังเป็นประเทศหุ้นส่วนที่สำคัญที่สุดในด้านการเมือง ความมั่นคงและเศรษฐกิจสำหรับประเทศญี่ปุ่น เมื่อประธานาธิบดีคนใหม่เข้ารับตำแหน่งเป็นทางการแล้ว ประเทศญี่ปุ่นควรจะวางความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับสหรัฐอเมริกาในลักษณะใด ?
จะไม่มีที่ว่างสำหรับ "ไกอัทสุ" จากสหรัฐอเมริกาอีกต่อไป ข้อพิพาททางการค้าแต่ละเรื่องควรยุติโดยข้อกำหนดตามกระบวนการขององค์การการค้าโลก แน่นอนว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งในด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับสหรัฐอเมริกาเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่น มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำข้อตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา ? จากปริมาณและลักษณะการค้าในปัจจุบันระหว่างสองประเทศ การทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาจะก่อประโยชน์มหาศาลต่อประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม พิจารณาจากอัตราส่วนของสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในการค้าระหว่างประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา และน้ำหนักของประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาในระบบการค้าพหุภาคีแล้ว ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาคงจะเป็นข้อพิจารณาในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ควรให้ความสำคัญอันดับแรกต่อการประสานนโยบายและกติการะหว่างประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาในสาขานอกกติกาขององค์การการค้าโลกมากกว่าการทำข้อตกลงการค้าเสรีของการค้า "ตามแบบที่เคยดำเนินมาก่อน" เพราะได้มีการลดภาษีศุลกากรในระดับทั่วไประหว่างสองประเทศลงเพียงพอแล้ว ทั้งสองประเทศต้องทำงานหนัก เพื่อการประสานนโยบายและกติกาดังกล่าวให้เป็นสากลผ่านองค์การการค้าโลก ประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาควรจะยกระดับความร่วมมือและการพึ่งพาซึ่งกันและกันด้วยการยกเลิกการควบคุม การมีมาตรการส่งเสริมการลงทุน นโยบายการแข่งขันและการประสานระบบงานเช่น กรอบทางกฎหมายสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในด้านความสัมพันธ์ของประเทศญี่ปุ่นกับประเทศอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ประเทศในสหภาพยุโรป แคนาดา และออสเตรเลียก็สามารถกล่าวได้ว่าเป็นไปในแนวเดียวกันแม้สถานการณ์อาจจะแตกต่างกันก็ตาม

ข้อตกลงการค้าเสรีต้องส่งผลให้เกิดการส่งเสริมการเปิดเสรีและการตื่นตัวทางเศรษฐกิจตลอดจนการขยายตัวของตลาดซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศหุ้นส่วนอื่นๆ ที่ไม่ได้ร่วมทำข้อตกลงดังกล่าว ในการดำเนินนโยบายดังกล่าวจำเป็นต้องสร้างมติมหาชนในหมู่ชนชาวญี่ปุ่น ที่สำคัญอีกประการคือการสร้างกระบวนการที่โปร่งใสกับประเทศหุ้นส่วนและพันธมิตรของญี่ปุ่น โดยคำนึงถึงความหมายในระดับการทูต และการเมืองของความสัมพันธ์พิเศษทางเศรษฐกิจซึ่งกำเนิดมาจากข้อตกลงการค้าเสรี
www.suksrifa.blogspot.com

นโยบายต่างประเทศของบรูไน

นโยบายต่างประเทศของบรูไน

วัตถุประสงค์หลักของนโยบายต่างประเทศบรูไน คือ การส่งเสริมผลประโยชน์แห่งชาติ อันได้แก่ การรักษาอธิปไตย อิสรภาพ และบูรณภาพแห่งดินแดน การสร้างความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ สังคม การรักษาเอกลักษณ์ทางการเมือง วัฒนธรรม และศาสนา รวมทั้งส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง ความมีเสถียรภาพ และความรุ่งเรืองในระดับภูมิภาคและระดับโลก บรูไนใช้กลไกพหุภาคีทั้งในระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง เสริมสร้างความมั่นคงและผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอาเซียน (ซึ่งถือเป็นเสาหลักของนโยบายต่างประเทศบรูไน) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก การประชุมเอเชีย-ยุโรป กลุ่มประเทศเครือจักรภพองค์การการประชุมอิสลามและสหประชาชาติ ในระดับทวีภาคีบรูไนพยามยามเป็นมิตรกับนานาประเทศทั้งในด้านการค้าและการลงทุนเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และยังได้ร่วมเป็นพันธมิตรทางการทหารกับประเทศต่างๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการป้องกันประเทศ

หลักการดำเนินนโยบายต่างประเทศของบรูไนที่สำคัญ ได้แก่ การเคารพอธิปไตย อิสรภาพ และบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศต่างๆ การยอมรับในสถานภาพที่เท่าเทียมกันของประเทศต่างๆ การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน การแก้ไขข้อพิพาทด้วยสันติวิธีและความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน การที่ประมุขของประเทศซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลเสด็จฯ เยือนประเทศต่างๆ ด้วยพระองค์เองเพื่อสร้างบทบาทของบรูไนในเวทีระหว่างประเทศ ทำให้บรูไนได้รับการยอมรับจากนานาประเทศทั้งในและนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังแสวงหาโอกาสทางธุรกิจในตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบรูไนมีนโยบายต่างประเทศที่ต้องการมิตรกับทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น ประเทศในตะวันออกกลาง รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดในอาเซียน ทั้งมุ่งเน้นการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศที่นำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เช่น จีน ให้มากขึ้น โดยรัฐบาลบรูไนคาดว่าจีนจะยังคงมีความต้องการพลังงานมากขึ้น รวมทั้งบรูไนคาดว่าจีนจะยังคงมีความต้องการพลังงานมากขึ้น รวมทั้งบรูไนจะเป็นทางเลือกที่จีนจะร่วมเป็นพันธมิตรในการสำรวจและพัฒนาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติกับบรูไน



นอกเหนือจากมาเลเซียแล้วสิงคโปร์ก็เล็งเห็นว่าบรูไนเป็นประเทศที่น่าสนใจที่จะเป็นทางเลือกในการหาแห่งพลังงานสำรองในอนาคต เพิ่มเติมจากการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากมาเลเซียและอินโดนีเซียปัจจุบันบรูไนสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศแบบพหุพาคีนิยม (Millennium Goals) และมองว่าปัญหาที่ประเทศต่างๆ กำลังเผชิญอยู่ในโลกปัจจุบันมีความหลากหลายมากขึ้นและส่งผลกระทบในวงกว้าง ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศหนึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ ด้วย ฉะนั้นการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคง ความสงบสุข และความเจริญรุ่งเรืองของสังคมระหว่างประเทศนั้นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกประเทศ
www.suksrifa.blogspot.com